เมนู

ญาณ 3


[168] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันบ้างว่า ใน
ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก
ภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์
ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต
ไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนสุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง
หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริย-
เจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ. ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ. เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลัง
จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตก
ยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็น
เพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดา.
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น ครั้นเมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อน
ภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลาย
จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ ก็อะไรเป็น
เหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะไม่ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปใน
พระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ.

การระงับอธิกรณ์


[169] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ
เนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประ-
พฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความ
โกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ
ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความ
พอใจของสงฆ์ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ
เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนพระพฤติ
อย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ
ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำ
ขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจ
ของสงฆ์ ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดย
ประการที่อธิกรณ์นี้ไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้ง
หลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะไม่ระงับโดยเร็ว
ฉะนั้น.
ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปไม่ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ
เนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่ฝ่าฝืน
พระพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำ
ความโกรธความขัดเคือง และความอ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ ทำ
ขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของ
สงฆ์ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่าง